|
หลักกฎหมายเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม![]() ![]() ![]() การเลิกจ้างลูกจ้างเป็นธรรมหรือไม่ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 บัญญัติว่า "ในการพิจารณาคดีในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่า ลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจร่วมทำงานกันต่อไปได้ให้ศาลแรงงานกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้แทน โดยให้คำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประกอบการพิจารณา ” ตามบทบัญญัติดังกล่าว การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างจึงหมายถึง การเลิกจ้างโดยไม่มีสาเหตุแห่งการเลิกจ้าง หรือมีสาเหตุแต่ยังไม่สมควรถึงขนาดที่จะเลิกจ้าง หรือสาเหตุการเลิกจ้างไม่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับหรือสัญญาจ้างหรือการเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด หรือการเลิกจ้างโดยมีเจตนาจะกลั่นแกล้งลูกจ้าง เป็นต้น ดังนั้น การที่จะพิจารณาว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมตามบทบัญญัติดังกล่าวหรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาว่ามีเหตุแห่งการเลิกจ้างหรือไม่ และเหตุดังกล่าวเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ
ย่อมาจาก คำพิพากษาฎีกาที่ 5322/2554
|
|
![]() |
![]() |
Miracle Consultant Limited
1/828 การ์เด้นโฮม ช้อปปิ้ง พลาซ่า หมู่ที่ 17 ถนนพหลโยธิน
ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 Tel : 02-5316729-30 E-mail : webmaster@miracleconsultant.com |