|
ฎีกาที่ 5952/2550 อย่างนี้ถือว่า “เลิกจ้าง”![]() ![]() ![]()
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสอง บัญญัติว่า “การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่าการกระทำใดๆที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปหรือไม่จ่ายค่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป” ดังนั้น การเลิกจ้างจึงต้องเป็นการกระทำของนายจ้างที่ไม่ให้ลูกจ้างและไม่จ่ายค่าจ้างให้ หรือกรณีที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปเป็นเหตุให้นายจ้างไม่สามารถทำงานได้และไม่ได้รับค่าจ้างด้วย ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า หลังจากโรงงานของนายจ้างถูกเพลิงไหม้ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2546 ตลอดมาจนถึงวันที่ 26 มกราคม 2547 เป็นเวลาแปดเดือนเศษ โรงงานของนายจ้างไม่สามารถเปิดดำเนินการผลิตสินค้าได้ เป็นเหตุให้ลูกจ้างของนายจ้างซึ่งสังกัดฝ่ายผลิตไม่ได้ทำงานเพราะนายจ้างไม่มีงานให้ทำและนายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างซึ่งสังกัดฝ่ายผลิตเฉพาะค่าจ้างเดือนพฤษภาคม 2546 เพียงวันที่ 1 ถึงวันที่ 10 เท่านั้น และหลังจากโรงงานของนายจ้างถูกเพลิงไหม้แล้วนาย ก.กับลูกจ้างอื่นได้ไปที่โรงงานของนายจ้างและได้ลงชื่อในสมุดซึ่งนายจ้างจัดไว้ให้ในวันที่ 12 และวันที่ 13 พฤษภาคม 2546 ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2546 ผู้จัดการโรงงานของนายจ้างได้เจรจากับลูกจ้างสังกัดฝ่ายผลิตว่า ผู้ใดสมัครใจไปทำงานที่โรงงานแห่งใหม่ที่จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเปิดทำการภายหลัง จะได้รับค่าจ้างเพียงค่าจ้างร้อยละห้าสิบของค่าจ้างปกติในระหว่างรอโรงงานแห่งใหม่เปิดถ้าผู้ใดไม่สมัครใจไปทำงานที่โรงงานแห่งใหม่ นายจ้างจะจ่ายค่าชดเชยให้เพียงครึ่งหนึ่งของค่าชดเชยตามกฎหมายแต่ขอแบ่งการชำระเป็น 6 งวด นาย ก. กับพวกไม่ตกลง ต่อมาวันที่15 พฤษภาคม 2546 นาย ก.กับพวกไปที่โรงงาน แต่นายจ้างไม่ได้จัดสมุดลงชื่อไว้ให้ลูกจ้างลงชื่ออีก
ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวแม้ว่านายจ้างมีความประสงค์จะให้นาย ข.กับพวกรวม 123 คน แสดงความตกลงใจที่จะไปทำงานที่โรงงานใหม่ที่จังหวัดราจีนบุรี ระหว่างที่รอการไปปฏิบัติงานนั้น นายจ้างยังคงมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ นาย ข.กับพวก แต่กลับปรากฏว่านายจ้างจะจ่ายค่าจ้างให้แก่นาย ข.กับพวกเพียงแค่ร้อยละห้าสิบของค่าจ้าง แต่ก็ไม่ปรากฏว่านายจ้างได้ดำเนินการเช่นนั้น และตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2546 เป็นต้นมานายจ้างก็ไม่ได้จ่ายค่าจ้างใดให้กับนาย ข.กับพวก ดังนั้นจึงเป็นกรณีที่นายจ้างไม่ให้นาย ข.กับพวกซึ่งเป็นลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้าง จึงเป็นการเลิกจ้างตามความหมายของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสอง หมายเหตุย่อมาจากคำพิพากษาฎีกาที่ 5952/2550 |
|
![]() |
![]() |
Miracle Consultant Limited
1/828 การ์เด้นโฮม ช้อปปิ้ง พลาซ่า หมู่ที่ 17 ถนนพหลโยธิน
ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 Tel : 02-5316729-30 E-mail : webmaster@miracleconsultant.com |