|
ฎีกาที่ 4321-4323/2548 วันหยุดตามประเพณีที่นายจ้างจัดหรือประกาศแล้ว เปลี่ยนได้หรือไม่![]() ![]() ![]()
“ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจจะให้ลูกจ้างหยุดตามประเพณีได้ เนื่องจากลูกจ้างทำงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้นายจ้างตกลงกับลูกจ้างว่าจะหยุดในวันอื่นชดเชยวันหยุดตามประเพณี หรือนายจ้างจะจ่ายค่าทำงานในวันหยุดก็ได้” ซึ่งกฎกระทรวงฉบับที่ 4 ลงวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2541 บัญญัติว่า “งานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานที่นายจ้างไม่อาจให้ลูกจ้างหยุดทำงานในวันหยุดตามประเพณีได้แก่งานดังต่อไปนี้
(1) งานในกิจการโรงแรม สถานมหรสพ ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคม สถานพยาบาล และสถานที่บริการท่องเที่ยว (2) งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร งานขนส่ง และงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานที่ต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งาน ” บทบัญญัติดังกล่าว หมายความว่า งานที่มีลักษณะและสภาพของงานประเภทต่างๆ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 นายจ้างอาจะตกลงกับลูกจ้างเพื่อให้หยุดในวันอื่นชดเชยวันหยุดตามประเพณีได้ งานที่ลูกจ้างทั้งสามทำนั้นไม่ใช่งาน ประเภทหนึ่งตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 ที่ตกลงเปลี่ยนวันหยุดตามประเพณีได้ นายจ้างจึงไม่อาจประกาศให้ลูกจ้างทั้งสามไปทำงานในวันจันทร์ที่ 7 เมษายน 2546 ซึ่งเป็นวันหยุดชดเชยวันจักรี เพื่อชดเชยในวันเสาร์ ที่ 12 เมษายน 2546 ได้ เท่ามีผลให้วันจันทร์ที่ 7 เมษายน 2546 ยังเป็นวันหยุดตามประเพณีชดเชยวันจักรี การที่ลูกจ้างทั้งสามกับพวกตกลงมาทำงานในวันที่ 7 เมษายน 2546 ตั้งแต่เวลา 8 นาฬิกา ถึง 12 นาฬิกา นับว่าเป็นคุณแก่นายจ้าง ดังนั้น การที่ลูกจ้างทั้งสามกับพวกหยุดทำงานในช่วง 13 นาฬิกา ถึง 17 นาฬิกา จึงไม่เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร และไม่ใช่เป็นการจงใจทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย หมายเหตุ ย่อมาจาก คำพิพากษาฎีกา 4321-4323/2548 กรุณาเข้า สู่ระบบ ก่อนทำการเขียนข้อความ
|
|
![]() |
![]() |
Miracle Consultant Limited
1/828 การ์เด้นโฮม ช้อปปิ้ง พลาซ่า หมู่ที่ 17 ถนนพหลโยธิน
ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 Tel : 02-5316729-30 E-mail : webmaster@miracleconsultant.com |