|
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องเรียกอะไรได้บ้าง![]() ![]() ![]()
เมื่อนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างลูกจ้างได้ แม้ว่าลูกจ้างไม่ได้กระทำผิดต่อนายจ้าง แต่นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายแรงงาน ดังนี้ 1. ต้องบอกกล่าวเลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบเมื่อจะถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างเพื่อให้มีผลเลิกจ้างเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้า แต่ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกิน 3 เดือน หรือนายจ้างอาจให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีโดยยอมจ่ายค่าจ้างล่วงหน้าก็ได้ 2. ต้องจ่ายค่าชดเชยจากการถูกเลิกจ้าง โดยมีอัตราดังต่อไปนี้ อายุการทำงาน เงินค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับ 120 วัน – 1 ปี 30 วันทำงาน 1 ปี – 3 ปี 90 วันทำงาน 3 ปี – 6 ปี 180 วันทำงาน 6 ปี – 10 ปี 240 วันทำงาน ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป 300 วันทำงาน 3. อาจจ่ายค่าชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมจำนวนหนึ่ง โดยคำนึงถึงระยะเวลาการทำงาน , อายุ , ความเดือนร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา 49 แต่อย่างไรก็ตามนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างและเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ซึ่งเลิกจ้างในกรณีดังต่อไปนี้ 1. ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง 2. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 3. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง 4. ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือตักเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด 5. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร 6. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ(คือ จำคุกไม่เกิน 1เดือน ปรับไม่เกิน 1,000บาท) เมื่อถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมสิทธิของลูกจ้าง สามารถเลือกปฏิบัติได้ 2 อย่าง อย่างใดอย่าง หนึ่ง ดังต่อไปนี้ 1. ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน โดยต่างจังหวัดยื่นที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด และในเขตกรุงเทพ ยื่นได้ที่กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เมื่อได้รับคำร้องแล้วพนักงานตรวจแรงงานก็จะเรียกนายจ้างและลูกจ้างมาสอบข้อเท็จจริง และทำการวินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อมีคำสั่งออกมาลูกจ้างไม่เห็นชอบด้วยก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่ง พนักงานตรวจแรงงาน ต่ออธิบดีกระทรวงแรงงานและหากลูกจ้างยังไม่พอใจก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลแรงงานให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานได้ 2. ยื่นฟ้องโดยตรงต่อศาลแรงงาน ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องขอท้ายคำร้องหรือท้ายฟ้องดังต่อไปนี้ 1.ขอให้นายจ้างรับกลับเข้าทำงาน ในตำแหน่งเดิมและสภาพการจ้างอย่างเดิม โดย - เรียกค่าจ้างที่ขาดไปจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จนกว่าจะรับกลับเข้าทำงาน - ดอกเบี้ย 2.กรณีไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ - เรียกค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า - เรียกค่าชดเชยการเลิกจ้าง - เรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม - ดอกเบี้ย
คำแนะนำ สิทธิตามกฎหมายดังกล่าวอาจไม่สามารถใช้ได้กับทุกกรณี ต้องพิจารณาดูสัญญาจ้างหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือสภาพการจ้างรายบุคคลก่อนหรืออาจมีพฤติการณ์พิเศษ ดังนั้นเพื่อความถูกต้องกรุณาติดต่อหรือปรึกษากับทนายความอีกครั้ง |
|
![]() |
![]() |
Miracle Consultant Limited
1/828 การ์เด้นโฮม ช้อปปิ้ง พลาซ่า หมู่ที่ 17 ถนนพหลโยธิน
ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 Tel : 02-5316729-30 E-mail : webmaster@miracleconsultant.com |